องค์การบริหารส่วนตำบลหลุบคา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ : www.lupka.go.th

 
 
ภารกิจอำนาจหน้าที่ของแต่ละกอง

1. โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล    

ขนาดองค์การบริหารส่วนตำบล  ดังนี้

 (1) องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 กำหนดให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล

ขนาดใหญ่

(1)     องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 2 และ ชั้น 3  กำหนดให้เป็นองค์การบริหาร

ส่วนตำบลขนาดกลาง

(2)     องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 4 และ ชั้น 5 กำหนดให้เป็นองค์การบริหาร

ส่วนตำบลขนาดเล็ก

                1.1  องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายอื่นที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล  การกำหนดโครงสร้างส่วนราชการให้คำนึงถึงความต้องการ และความเหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบล    โดยให้มีการแบ่งส่วนราชการ   ดังต่อไปนี้

    (1)  สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

    (2)  กอง หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (1)  มีฐานะเป็นกองหรือเป็นส่วน

ให้องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศกำหนดกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งถือว่าเป็นส่วนราชการหลักขององค์การบริหารส่วนตำบล  ดังนี้

          (1)  กองคลัง  หรือส่วนการคลัง

(2)    กองช่าง  หรือส่วนโยธา

1.2  ส่วนราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลอาจประกาศกำหนดได้ตามความเหมาะสมของ

แต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล  ได้แก่

(1)    กองหรือส่วนส่งเสริมการเกษตร

(2)    กองหรือส่วนการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

(3)    กองหรือส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

(4)    กองหรือส่วนราชการอื่นตามความต้องการและความเหมาะสมขององค์การ

บริหารส่วนตำบล

1.3  องค์การบริหารส่วนตำบลอาจประกาศกำหนดกองหรือส่วนราชการอื่นได้ตามความเหมาะสม และความจำเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล   โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( ก.อบต.จังหวัด )

 

1.4  ในการประกาศกำหนดกองหรือส่วนราชการตามข้อ 231 ให้องค์การบริหารส่วนตำบล  จัดทำเป็นประกาศองค์การบริหารส่วนตำบล โดยให้กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นภายในกรอบที่กำหนด ดังนี้

(1)    สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ ราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล   และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง  หรือส่วน        ราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ    รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วน      ราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย  แนวทาง  และแผนการ  ปฏิบัติราชการของ          องค์การบริหารส่วนตำบล

(2)                กองคลัง หรือส่วนการคลัง   มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย    การรับ  การนำส่งเงิน  การเก็บรักษาเงิน   และเอกสารทางการเงิน   การตรวจสอบใสำคัญ   ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง   ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน   การจัดสรรเงินต่าง ๆ    การจัดทำบัญชีทุกประเภท   ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ  การควบคุม  การเบิกจ่าย  งานทำงบทดลองประจำเดือน  ประจำปี   งานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหาร             ส่วนตำบลและงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

(3)                กองช่าง  หรือส่วนโยธา  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ    การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ  การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติ   งานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง  งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล  การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล  การควบคุม  การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ                   งาเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่น ๆ                        ที่ เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

1.5   การกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  กองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศจัดตั้งขึ้น ให้กำหนดให้ครอบคลุมภารกิจ หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามที่กฎหมายกำหนดหรือภารกิจหน้าที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้องปฏิบัติ  และการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดังกล่าว  ต้องมีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนระหว่างกองหรือส่วนราชการต่าง ๆ ในองค์การบริหารส่วนตำบล นั้น

1.6  การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็นประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลจัดแบ่งส่วนราชการภายในได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล  ดังนี้

(1)    การจัดแบ่งส่วนราชการภายใน  ให้พิจารณาจัดแบ่งตามความเหมาะสมและ   

ความจำเป็นตามภารกิจหน้าที่และปริมาณงานของส่วนราชการนั้น  โดยจัดแบ่ง ฝ่าย กลุ่มหรือชื่องานอื่นใดเป็นจำนวนเท่าใดตามที่เห็นสมควรและเป็นที่เข้าใจได้ถึงภารกิจหน้าที่ของฝ่ายหรือกลุ่มงานนั้น

(2)                การกำหนดอำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบของส่วนราชการภายในที่ได้จัดแบ่งนั้น   จะต้องกำหนดให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกับส่วนราชการอื่น และต้องอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกองหรือส่วนราชการนั้น

1.7  การประกาศกำหนดส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล    กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการ  และการจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ตามข้อ 229 และ ข้อ 231                      ให้องค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำเป็นร่างประกาศองค์การบริหารส่วนตำบล  แล้วเสนอให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( .อบต.จังหวัด )  ให้ความเห็นชอบ  เมื่อคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( .อบต.จังหวัด )   พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว  ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ลงนามในประกาศใช้บังคับต่อไป

1.8  การจัดตั้งกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นขึ้นใหม่  เพื่อรองรับภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล   หรือการปรับปรุงการกำหนดส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล    ซึ่งมีการจัดตั้งกอง หรือส่วนราชการขึ้นใหม่  ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสนอเหตุผลความจำเป็น และร่างประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลกำหนดกองหรือส่วนราชการขึ้นใหม่   เพื่อให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล                 ( .อบต.จังหวัด )  พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยให้มีรายการ ดังนี้

(1)      เหตุผล ความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งกองหรือส่วนราชการขึ้นใหม่

(2)      ชื่อกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

(3)      อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกองหรือส่วนราชการ นั้น

(4)      ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติตาม (3) คุณภาพและปริมาณงานถึงขนาดต้องจัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับกองและกำหนดอัตรากำลังพนักงานส่วนตำบลในส่วนราชการนั้น

(5)      ร่างประกาศองค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดส่วนราชการที่ปรับปรุงใหม่ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการจัดแบ่งส่วน    ราชการภายใน

(6)      ในการพิจารณาของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( .อบต.จังหวัด ) ให้คำนึงถึงภารกิจ   อำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่กฎหมายกำหนด  ลักษณะงาน   คุณภาพ           ของงาน  ปริมาณงาน  และความจำเป็นความเหมาะสม  ตลอดทั้งอัตรากำลังของพนักงานส่วนตำบล  และงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล

1.9  เมื่อคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( .อบต.จังหวัด ) ได้พิจารณาการขอจัดตั้งหรือปรับปรุงการกำหนดส่วนราชการตามข้อ 1.8  แล้ว  ให้ดำเนินการ  ดังนี้

(1)      กรณีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งหรือปรับปรุงการกำหนดส่วนราชการใหม่  และอัตรา            กำลังพนักงานส่วนตำบลที่กำหนดในกองหรือส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่    เป็นการปรับเกลี่ยมาจากกอง หรือส่วนราชการอื่นภายในองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยไม่เพิ่มอัตรากำลัง  ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลงนามในประกาศใช้บังคับ และดำเนินการตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล                 ( .อบต.จังหวัด) 

(2)      กรณีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งหรือปรับปรุงการกำหนดส่วนราชการใหม่   และอัตรา               กำลังพนักงานส่วนตำบลที่กำหนดในกองหรือส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลงนามในประกาศใช้บังคับและดำเนินการตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( ก.อบต.จังหวัด )

(3)      กรณีมีมติเป็นประการอื่นใด  ให้องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการตามมติของ            คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ( .อบต.จังหวัด ) นั้น

                   1.10   อำนาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ในการควบคุมและรับผิดชอบการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล  ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย

สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล

                   1.11  ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                       (1) รับผิดชอบควบคุมการปฏิบัติราชการประจำในองค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล  ให้เป็นไปตามนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบล

                       (2) เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  รองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                   ในการปฏิบัติราชการของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  จะให้มีรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วย   ก็ได้

                   ในกรณีที่มีรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล   ให้รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                  เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

                   ให้รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ตามที่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย

                   1.12   ให้สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล    มีหัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่ง  เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง   และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น

                   1.13   ในกองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น มีผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง และรับผิดชอบ              ในการปฏิบัติราชการของกองหรือส่วนราชการนั้น

                   1.14  ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล การกำหนดให้       ตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งใดที่มิได้กำหนดไว้ตามประกาศนี้  บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล              ในส่วนราชการใด ฐานะใด  ให้เป็นไปตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย             โดยทำเป็นหนังสือ  

                    1.15 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต   การอนุมัติ หรือการปฏิบัติกิจการที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะพึงปฏิบัติ  หรือดำเนินการตามกฎหมายใด ให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดในองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติราชการแทนก็ได้  ทั้งนี้  ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล